หน้าเว็บ

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ระบบหายใจของมนุษย์


ระบบหายใจหรือระบบของการหายใจ (respiratory system) สิ่งที่ควรเข้าใจในลำดับแรกคือ การหายใจ (respiration)
การหายใจเป็นกระบวนการในการสลายสารอาหารของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะได้พลังงานจำนวนหนึ่งมาใช้ในการดำรงชีวิต
กระบวนการหายใจต้องใช้เอนไซม์ (enzyme) และแก๊สออกซิเจน ดังนั้น กระบวนการหายใจต้องเกี่ยวข้องกับแก๊สออกซิเจนที่มีกระบวนการในการรับเข้ามาภายในร่างกาย
                อวัยวะสำหรับใช้ในการหายใจของสิ่งมีชีวิตที่ควรรู้จัก
                    1. สัตว์เซลล์เดียวใช้ส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ในการหายใจ
                    2. ตัวอ่อนของแมลงปอช่วงที่ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำใช้เหงือกในการหายใจ
                    3. ช่วงระยะตัวไม่เต็มวัยของกบที่อยู่ในน้ำจะใช้เหงือก ในการหายใจ
                    4. หอยโข่งใช้ปอดในการหายใจ
                    5. แมลงใช้ท่อหรือหลอดลมกระจายทั่วร่างกายเป็นอวัยวะหายใจ
                    6. หนูใช้ปอดในการหายใจ
                    7. ปลาใช้เหงือกในการหายใจ
                    8. ซาลามานเดอร์ (salamander) ใช้เหงือกในการหายใจ
                    9. นกใช้ปอดในการหายใจ
                    10. ค้างคาวใช้ปอดในการหายใจ
                   11. สุนัขใช้ปอดในการหายใจ
                    12. งูใช้ปอดในการหายใจ
                อวัยวะสำหรับการหายใจ (respiratory organ) ของสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไปอาจสรุปในเบื้องต้นได้ว่าสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่บนบกจะใช้หลอดลม (trachea) ใช้ปอด (lung) พวกที่ใช้หลอดลมจะเป็นพวกแมลงต่างๆ เป็นส่วนมาก พวกที่ใช้ปอดจะเป็นสัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

มารู้จักระบบหายใจของมนุษย์กันดีกว่า




                          





วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงสร้างของระบบหายใจ

โครงสร้างของระบบหายใจ


                               
   
  ที่มา : http://vet.kku.ac.th/physio/rs/image/structurers001.jpg

  
             รูจมูก (Nostrils หรือ Nares)
เป็นรูเปิดด้านนอกของทางเดินอากาศเข้าสู่โพรงจมูก ในม้ารูจมูกสามารถปรับขนาดได้ ในขณะที่ในสุกรจะแข็งไม่สามารถปรับขนาดได้ การที่รูจมูกสามารถขยายได้ในม้าเป็นข้อดีเนื่องจากทำให้ได้รับอากาศมากในเวลาที่ต้องออกกำลัง รูจมูกม้าสามารถปรับขยายได้มาก


                                              
                                                                                    จมูก

                                          ที่มา : http://vet.kku.ac.th/physio/ rs/image/structurers001.jpg
                     โพรงจมูก (Nasal cavities)
                    รูจมูกนำอากาศเข้ามาสู่โพรงจมูกซึ่งแยกเป็น 2 ข้างด้วย nasal septum และแยกจากช่องปากโดย soft และ hard palate ในโพรงจมูกจะมี nasal conchae (turbinate bones) แบ่งโพรงจมูกเป็นช่องๆ mucosa ของ nasal conchae มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากเพื่อคอยอุ่นอากาศและให้ความชื้นแก่อากาศที่หายใจเข้าก่อนผ่านไปสู่ทางเดินอากาศที่ลึกเข้าไปในร่างกาย ในขณะเดียวกันเลือดที่ผ่านเข้ามาอุ่นอากาศก็จะมีอุณหภูมิลดลงก่อนที่จะผ่านไปสู่สมอง ดังนั้นในทางกลับกันก็คืออากาศจะช่วยทำให้เลือดเย็นลง เลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายประมาณ 20- 30 oC ดังนั้นระบบการทำให้เลือดมีอุณหภูมิลดลงก่อนไปเลี้ยงสมองจะเป็นประโยชน์เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ sensitive ต่อความร้อน นอกจากการอุ่นอากาศด้วยเส้นเลือดที่ผ่านมาเลี้ยง conchae แล้ว การหายใจด้วยปากก็เป็นกลไกตอบสนองอย่างหนึ่งที่ช่วยป้องกันในกรณีที่อากาศที่หายใจเข้าไปเย็นมาก โดยจะช่วยป้องกันไม่ให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีอุณหภูมิต่ำเกินไป โดยการลดปริมาณอากาศเย็นที่จะผ่านไปที่ conchae

                    หลอดคอ (Pharynx)
                    อยู่ต่อจากส่วนท้ายของ nasal cavities เป็นทางรวมก่อนที่จะแยกเป็นทางเดินอาหาร และทางเดินหายใจ สิ่งที่เปิดเข้าสู่บริเวณ pharynx ได้แก่ posterior nares 1 คู่, eustachian tube 1 คู่, ช่องปาก, glottis และ esophagus ทางออกจากหลอดคอเข้าสู่ทางเดินหายใจ คือ glottis และมีส่วนต่อด้วย larynx เป็นอวัยวะที่สร้างเสียง เกิดจากการควบคุมทางเดินอากาศ ซึ่งอากาศที่ผ่านเข้าจะทำให้มีการสั่นของเส้นเสียงใน larynx สำหรับในนกจะมี syrinx เป็นอวัยวะสร้างเสียง โดย syrinx จะอยู่ในตำแหน่งที่ trachea แยกออกเป็น bronchi
                  หลอดลม (trachea)
                หลอดลม (trachea) เป็นท่อทางเดินของอากาศจากจมูกเข้าสู่รูจมูก (nostril) แล้วผ่านไปยังช่องจมูก (nasal cavity) ผ่านไปที่คอหอย (pharynx) แล้วเข้าสู่หลอดลม จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้วปอด (bronchus) เข้าสู่ bronchiole เข้าสู่ alveolar duct เข้าสู่ air sac และเข้าสู่ถุงลม (alveolus) เป็นจุดสุดท้าย
                หลอดลมในส่วนต้นจะเป็นส่วนของกล่องเสียง (larynx) กล่องเสียงนี้จะประกอบด้วยกระดูกที่เป็นกระดูกอ่อน 3 ชนิดคือ arytenoid cartilage, thyroid cartilage (ลูกกระเดือก), cricoid cartilage ภายในของกล่องเสียงมีแผ่นเยื่อ (vocal cord) 2 คู่ ขึงอยู่ แผ่นเยื่อ vocal cord จะยืดหยุ่นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดเสียงได้ตามต้องการจะเปล่ง เสียง
หลอดลมจะมีกระดูกอ่อนบางๆ มาเป็นฝาปิดเพื่อป้องกันสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากอากาศลงไปเรียกว่า epiglottis
หลอดลมส่วนที่ถัดจากกล่องเสียงลงไปอีกจะเป็นหลอดยาวไปเชื่อมกับปอด หลอดลมจะถ่างเป็นช่องว่างอยู่ตลอดเวลานอกจาก นี้วงกระดูกอ่อนเป็นโครงอยู่ภายใน (tracheal ring) วงกระดูกด้านหลังของหลอดลมที่แนบอยู่กับหลอดอาหารจะขาดออกจากกันเป็นรูปวงกลม          




   การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนที่ถุงลม โดยการแพร่ผ่านผนังบางๆ ของถุงลมและเส้นเลือดฝอย    ที่มา : http://vet.kku.ac.th/physio/rs/image/alveoli001.jpg   
  
                  ถุงลม (alveolus)                     ถุงลมปอด (Pulmonary alveoli)  เป็นตำแหน่งที่มีการแลกเปลี่ยน gas ระหว่างอากาศกับเลือด โดยมีเนื้อเยื่อ (alveolarcapillary membrane) ที่กั้นกลาง ประกอบด้วย alveolar epithelium และ capillary endothelium ที่ตำแหน่งนี้เลือดดำจาก pulmonary artery จะนำ CO2 มาปล่อยเข้าถุงลม และรับ O2 จากถุงลมเข้ามา ก่อนที่จะถูกส่งกลับไปสู่หัวใจทาง pulmonary vein
                                         ถุงลมเป็นส่วนที่ต่อมาจาก alveolar duct ที่ต่อมาจาก bronchiole alveolar duct ส่วนปลายจะพองออกเป็นกระเปาะเล็กเรียกว่า air sac ซึ่ง air sac จะประกอบด้วยถุงเล็กๆ จำนวนมาก เรียกว่า ถุงลม (alveolus) จะเป็นถุงที่มีผนังบางๆ และมี endothelium ซึ่งมีลักษณะบางแต่เหนียวมากเป็นส่วนบุอยู่ด้านใน ส่วนทางด้านนอกของถุงลมจะมีเส้นเลือดฝอยหุ้มอยู่เป็นจำนวนมาก ถุงลมมีอยู่ประมาณ 700 ล้านถุง ซึ่งถ้านำมาแผ่ออกเป็นแผ่นอาจได้พื้นที่ถึง 90 ตารางเมตร           
                    ปอด (Lung)

                เป็นโครงสร้างหลักของระบบหายใจ อยู่ในส่วนของช่องอก เมื่อช่องอกขยายปอดก็ขยายตาม เปิดโอกาสให้อากาศไหลเข้ามาสู่ปอด เมื่อช่องอกหดแฟบลงปอดก็ถูกบีบ ขับอากาศออกไปสู่ภายนอก ปอดสามารถเคลื่อนไหวได้โดยแทบจะไม่มีแรงเสียดทาน (friction-free movement) ภายในช่องอก ทั้งนี้เพราะมีเนื้อเยื่อหุ้มปอด (pleura) ซึ่งเป็น smooth serous membrane ที่ห่อหุ้มปอด แบ่งออกเป็นส่วนที่เชื่อมติดกับปอดเรียกว่า visceral pleura และส่วนที่เชื่อมติดกับผนังช่องอกเรียกว่า parietal pleura  

                                                                                
                                                                                   Elasticity of the lung and lung recoil
ปอดจะมีการหดตัวกลับคืนเสมอ เมื่อมีการขยายของถุงลมปอด ทั้งนี้เนื่องจาก
        
    1. elastic fiber ของเนื้อเยื่อปอด             2. surface tension ของถุงลมปอดเนื่องจากผนังด้านในของถุงลมปอดมีสารเรียกว่า surfactant เคลือบอยู่ ทำให้ภายในถุงลมมีแรงตึงผิว และแรงนี้จะคอยดึงให้ alveoli กลับคืนสู่สภาพที่แฟบที่สุด
                         ปอดของมนุษย์จะมีความจุหรือบรรจุอากาศได้ประมาณ 4-5 ลิตร อยู่ในช่องอก โดยช่องอกจะถูกแบ่งออกจากช่องท้องด้วยส่วนของกระบังลม (diaphragm) อยู่ในตำแหน่งซ้ายขวาของหัวใจ อยู่ในช่องว่างของตัวเองที่เรียกว่า ช่องปอด (pleural cavity)
ปอดอยู่ภายในส่วนที่ซี่โครงล้อมรอบไว้และจะติดอยู่กับโคนของขั้วปอด (bronchus) ซึ่งเป็นส่วนปลายสุดของหลอดลมที่แยกออกเป็น 2 หลอดด้านซ้ายและด้านขวา ขั้วปอดจะเหมือนกับหลอดลมทุกประการ แต่จากการแยกเป็นสองหลอดจึงทำให้มีขนาดเล็กลง มีความแข็งแรงน้อยกว่าหลอดลม ขั้วปอดของสัตว์บางอย่าง เช่น วัว ควาย หมู วาฬ จะมีขั้วปอด 3 ขั้ว งูมีขั้วปอด เพียงอันเดียว จากขั้วปอดจะแตกออกไปเป็นหลอดเล็กกระจายไป เรียกว่า bronchiole ไปเชื่อมต่อกับถุงลม นำอากาศเข้าและออกจากถุงลม
        
 ทางเดินของอากาศในระบบหายใจของคน
            อากาศจากการหายใจจะเดินทางเข้าด้วยการหายใจเข้าโดยผ่านจมูกในส่วนของรูจมูก (nostril) แล้วเคลื่อนที่ไปที่ช่องจมูก (nasal cavity) ผ่านคอหอย (pharynx) เข้าสู่หลอดลม (trachea) เดินทางต่อไปที่ส่วนของขั้วปอด (bronchus) ต่อไปที่ bronchiole alveolar duct air sac และถุงลม (alveolus) เป็นที่สุดท้าย เมื่อเดินทางถึงถุงลม (alveolus) จะเกิดกระบวนแลกเปลี่ยนแก๊ส (gas exchange) จนเสร็จสิ้นแล้วอากาศจะเดินทางออกด้วยการหายใจออกย้อนกลับมาตามทางเดิม
          การหายใจเข้าและหายใจออก เป็นการนำแก๊สเข้า-ออกในสิ่งมีชีวิตหรือที่เรียกว่า ventilation
         การหายใจเข้า
จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อความดันอากาศในถุงลมน้อยกว่าความดันบรรยากาศปกติ ส่วนการหายใจออก จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อความดันอากาศในถุงลมสูงกว่าความดันบรรยากาศปกติ 
                                                                                     
                                                    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายใจเข้าโดยการทำให้ปริมาตรของช่องอกขยายเพิ่มขึ้น ทำให้ปอดขยายตัวใหญ่ขึ้นด้วย ซึ่งเป็นการทำให้ความดันอากาศในถุงลมลดลง เกิดความแตกต่างของความดันอากาศ ส่งผลให้อากาศไหลเข้าในปอด การขยายตัวของช่องอก เกิดขึ้นจากการทำงาน (เคลื่อนที่) ร่วมกันระหว่างกระบังลม (diaphragm) และผนังทรวงอก (rib cage) คือกระดูกซี่โครงที่ต่อกับกระดูกสันหลังโค้งมายึดกับกระดูกหน้าอก (sternum) การเคลื่อนที่ของกระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกเกิดขึ้นได้โดยการทำงานของกล้ามเนื้อซี่โครงแถบนอกและแถบใน
ระหว่างการหายใจเข้า กล้ามเนื้อซี่โครงแถบนอกจะหดตัว (แถบในคลายตัว) กระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกถูกยกตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกันกระบังลมก็หดตัวด้วยและเคลื่อนที่ต่ำลงซึ่งทำให้ปริมาตรของช่องอกขยายเพิ่มขึ้น และดึงอากาศเข้าไปในปอด
            การหายใจออกเกิดขึ้นโดยกลไกที่ตรงกันข้ามกับการหายใจเข้า กล่าวคือ





                  การขยายตัวของช่องอกระหว่างการหายใจเข้า ทำให้เนื้อเยื่อของช่องอกและปอดยืดออก ซึ่งจะกลับคืนสู่สภาพเดิมระหว่างการหายใจออก กระบังลมก็จะกลับไปสู่สภาพคลายตัว กล้ามเนื้อซี่โครงแถบนอกจะคลายตัว (แถบในหดตัว) ส่งผลให้กระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกลดระดับต่ำลง และกระบังลมโค้งเข้าไปในช่องอก ปริมาตรของช่องอกเล็กลง ปอดแฟบลง ความดันในถุงลมเพิ่มขึ้น อากาศจึงไหลออกปอดไปได้                    
                                          ความสัมพันธ์ระหว่างปอดและหัวใจในการฟอกเลือด
หัวใจทางซีกขวาจะรับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ (40 มล.ปรอท) และส่งไปยังปอด เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สกับถุงลมที่มีความดันออกซิเจน 104 และความดันคาร์บอนไดออกไซด์ 40 และส่งกลับเข้าหัวใจทางด้านซ้าย เพื่อส่งไปตามเส้นเลือดไปให้เนื้อเยื่อ เลือดที่เข้ามาที่เซลล์นี้มีความดันออกซิเจนประมาณ 100 และความดันคาร์บอนไดออกไซด์ 40 เซลล์นำออกซิเจนไปใช้เกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะถูกนำไปสู่หัวใจทางด้านขวาเพื่อส่งไปปอดต่อไป เกิดเป็นวัฏจักรเช่นนี้ตลอดไป



โรคที่เกี่ยวของกับระบบทางเดินหายใจของมนุษย์

โรคปอดปวม
โรคปอดบวมคืออะไร โรคปอดบวมหมายถึงภาวะปอดซึ่งเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งในสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจาก เชื้อรา และ พยาธิ เมื่อเป็นปอดบวม จะมีหนอง และสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับ oxygen ทำให้ร่างกายขาด oxygen และอาจถึงแก่ชีวิตได้สาเหตุของปอดบวม มีสาเหตุมากมายแต่แบ่งสาเหตุได้ดังนี้
-                   Bacteria                                                               - Viruses
-                   Mycoplasma                                                        - เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา 
-                   สารเคมี
 เชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ จาม นอกจากนี้ยังเกิดจากการดมสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลายเศษอาหารและน้ำย่อย เหตุชักนำสำคัญที่ทำให้เกิดปอดบวม ปกติเชื้อโรคอยู่ในคอ เมื่อร่างกายมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดโรค ภาวะต่างๆดังกล่าวได้แก่
1.             ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการอักเสบติดเชื้อลดลง เช่นอายุมาก ขาดอาหาร เบาหวาน ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
2.             การอักเสบติดเชื้อไวรัสของระบบการหายใจ
3.             การอุดกั้น และการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม
4.             การสำลัก น้ำลาย เศษอาหาร หรือสิ่งติดเชื้อในปอด
การติดต่อ ติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากการไอ หรือจามของผู้ป่วย บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกันหรือใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้ออาจจะเกิดอาการใน 1-3 วัน อาการของโรคปอดบวม
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน 
  • บางรายอาจจะเริ่มด้วยไข้สูง หนาวสั่น 
  • หายใจหอบเหนื่อย 
  • อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ 
  • อาการไอ ในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาจะมีจำนวนเสมหะเพิ่มมากขึ้น เสมหะเหนียว
การวินิจฉัย หากมีประวัติไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว หายใจหอบ และแพทย์สงสัยว่าจะเป็นปอดบวมแพทย์ตรวจร่างกายและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการดังนี้
  • เจาะเลือดตรวจ CBC พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
  • ตรวจเสมหะโดยการย้อมสี และเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุของปอดบวม
  • นำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล
  • X-ray ปอด
การรักษา ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละ 2 ครั้ง รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้น และให้การรักษา คือ
  • ให้ oxygen
  • ให้ยาปฏิชีวนะ
  • ให้น้ำเกลือ


โรคหอบหืด
             โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]  เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้
ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้
1.       Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
2.       Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
3.       Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
4.       Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง


หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ
[Airway muscle]  และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ


เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก
ภาพจาก http://www.siamhealth.net/
จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้
  • หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
  • แน่นหน้าอก
  • ไอ
  • หายใจเสียงดัง
โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ
  • อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
  • อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
  • อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
  • อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน







โรคหลอดลมอักเสบ
                เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมาก ทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด
                โรคหลอดลมอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย มักพบร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนอื่นด้วย เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบ

สาเหตุ
  • สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
  • เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ อะดิโนไวรัส ไรโนไวรัส ฟลูไวรัส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย
  • ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมจนทำให้หลอดลมกิดการอักเสบ ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่อยู่กับคนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ป่วยโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน ผู้ที่มีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ มีโอกาสเป็นโรคหลอดลมอักเสบมากขึ้น
อาการ
                ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการ ไอ และมีเสมหะ อาการไอถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ เสมหะอาจจะมีสีเหลืองหรือเขียว ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ ถ้ามีไข้ มักจะไม่มีไข้สูง บางรายจะมีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจเสียงดังหวีด
                ผู้ป่วยที่เป็นหวัด เริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปรู้สึกแน่นหน้าอก มีเสมหะในคอ และเริ่มเกิดอาการไอ แสดงว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ รวมทั้งผู้ที่เป็นหวัด แล้วมีอาการไอ และมีเสมหะเรื้อรังนานเกิน 7 วัน ต้องนึกถึงโรคหลอดลมอักเสบไว้ด้วย
                โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 20-30 หายภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ใช้เวลาเป็นเดือน จึงจะหายจากโรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน
การวินิจฉัยโรค
                การวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบทำได้โดยการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น บางครั้งแพทย์อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคติดเชื้ออื่นๆ ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งปอด และโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน
การตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ แพทย์จะพิจารณาในรายที่มีข้อบ่งชี้ และต้องเลือกเก็บเสมหะที่แท้จริง อาจต้องใช้เทคนิคพิเศษบางประการเพื่อช่วยในการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หมายเหตุ การตรวจภาพรังสีทรวงอก ช่วยวินิจฉัยแยกโรคปอดอักเสบ
 แนวทางการรักษา
  • การรักษาโรคหลอดลมอักเสบนี้ ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่เป็นในขณะนั้น เช่น การให้รับประทานยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม หรือ ยาลดไข้ เนื่องจากโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
  • ในกรณีผู้ป่วยเด็ก ไม่นิยมให้ยาแก้ไอ เพราะอาจทำให้เสมหะค้างในหลอดลมจนกลายเป็นโรคอื่นๆ ที่รุนแรงอย่าง เช่น โรคปอดอักเสบ หรือโรคหลอดลมโป่งพองได้
  • ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างพอเพียง ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ที่ระคายต่อหลอดลม
  • หากตรวจพบว่าโรคหลอดลมอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ยาใหม่ที่ใช้ได้ผลดีชื่อ Telithromycin ซึ่งเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม ketolides จากการศึกษาวิจัยในระยะหลัง พบว่าเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาน้อยมาก


โรควัณโรค
สาเหตุ   
          
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็น acid fast bacillus (AFB) ย้อมติดสีแดง ซึ่งจะมีอยู่ในปอดของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา
อาการและอาการแสดง
            
ส่วนใหญ่ของเด็กที่ติดเชื้อ จะไม่มีอาการของโรคเมื่อทดสอบทูเบอร์คิวลินได้ผลบวก (ซึ่งเป็นการแสดงว่าเด็กติดเชื้อวัณโรค) การตรวจ X-rays ของปอดก็จะไม่พบผิดปกติในระยะแรก ถ้าเด็กมีสุขภาพและภาวะโภชนาการดี โรคจะยังไม่เกิดขึ้นทันทีเมื่อได้รับเชื้อ อาการที่จะพบได้เร็วที่สุดประมาณ 1-6 เดือนหลังติดเชื้อ ที่จะพบได้บ่อย คือ มีต่อมน้ำเหลืองโตที่ขั้วปอด ที่คอ และที่อื่นๆ แล้วจึงพบผิดปกติที่ปอดและอวัยวะอื่นๆ
การวินิจฉัยโรค            ในผู้ที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรค การวินิจฉัยที่แน่นอนได้จากการเพาะแยกเชื้อ M. tuberculosis จากน้ำล้างกระเพาะ (gastric wash) ในตอนเช้า ทั้งนี้เพราะเด็กมักจะกลืนเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคลงในกระเพาะเวลากลางคืน หรือจากเสมหะ จากน้ำในเยื่อหุ้มปอด น้ำไขสันหลัง (ในรายเยื่อหุ้มสมองอักเสบ) เนื่องจากเชื้อวัณโรคเจริญเติบโตช้า ดังนั้นการเพาะเชื้อต้องใช้เวลานานถึง 10 สัปดาห์ ปัจจุบันมีวิธีที่อาจใช้เวลาเพียง 2-3 สัปดาห์ หรือสั้นกว่านี้ การทดสอบทูเบอร์คิวลิน เป็นวิธี skin test ที่ทำได้ง่ายที่สุดในการตรวจสภาวะของการติดเชื้อวัณโรคในผู้ที่ไม่มีอาการ การทดสอบที่ให้ผลบวกแสดงว่ามีการติดเชื้อ M. tuberculosis โดยทั่วไปแล้วในเด็กส่วนใหญ่หลังจากได้รับเชื้อแล้ว 3-6 สัปดาห์ จึงจะให้ปฏิกิริยาทูเบอร์คิวลินเป็นบวก บางรายอาจนานถึง 3 เดือนได้ และปฏิกิริยาบวกนี้จะคงอยู่ตลอดไป ถึงแม้จะได้ยารักษาวัณโรคแล้วก็ตาม
การรักษา           ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด เพื่อลดอัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา ยาที่ใช้ได้แก่ Streptomycin, Pyrazinamide, Rifampin, Isoniacid, Ethambutol การรักษาจะได้ผลดีถ้ามารับการรักษาเสียแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโร